จาก 3x3 ก็กระโดดมาเป็น 5x5 เลย ... ข้าม 4x4 ไปอย่างหาซื้อไม่ได้ (ก็มันหาซื้อไม่ได้นา) ... อีกอย่าง เล่น 3x3 เป็นแล้ว มันมีความรู้สึกว่า ... อ๊ะ ... เสร็จแล้วเหรอ ? จริงๆ ก็ไม่ได้เล่นเร็วอะไรมาก เพียงแต่มีความรู้สึกว่า มันจบเร็วไป ไม่ค่อยได้หมุนมากมาย ก็เลยหาสิ่งที่ท้าทายกว่ามาลอง ซึ่งหา 4x4 ไม่ได้นี่ดิ ... กระโดดไป 5x5 เลย T_T เวอร์จริงๆ
ได้มาวันแรก ... แกะกล่อง ... ละลาย rubik แล้วก็มานั่ง solve ... ใช้ทฤษฎีเดาๆ ตามกฎความน่าจะเป็นของแซม ดังนี้
- น่าจะ solve center ให้ได้ก่อนนะ ...
- น่าจะ solve ขอบให้ได้มั่ง ...
- จากนั้น น่าจะ solve 3x3 ได้ :D
อืม ... จากทฤษฎีก็ดูเหมือนไม่ยากเลย ... แต่พอทำไปแล้วมันมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น และใช้เวลานานด้วย ... ผม solve โดยยังไม่ดู solution ใช้เวลาไป 5 ชม. ... นับว่านานดีทีเดียว ฮ่าๆๆ
จาก นั้น ก็เดาๆ ว่า ตัวเองน่าจะศึกษาทฤษฎีเพิ่มเติมได้แล้ว และีรู้ว่าพอที่จะเรียนรู้อะไรจากมันมาบ้างแล้ว ก็เลย search จาก goo ปรากฎว่าไม่ค่อยมี solution เอาซะเลย T_T แย่จัง (หมายถึง solution ด้วยวิธีแซมๆ น่ะนะ) แต่มันก็พอมีให้ศึกษาบ้างแหละ ... เท่าที่ดู solution ที่ใช้วิธีแซมๆ จะไม่ค่อยมี แต่จะมี solution อีกแบบที่จัด corner ก่อนอ่ะ ... solution นั้นยังไม่เคยลอง กะว่าเอา solution แซมๆ ให้แน่ๆ ก่อนค่อยว่ากันใหม่
solution แบบแซมๆ ที่ว่าก็เหมือนข้างต้นที่กล่าวไป (กว่าจะหา resource ได้) คือ
- จัด center ของทุกสีให้ได้ก่อน
center ที่จัดในครั้งแรกให้จัด center ตรงข้ามกันก่อน เช่น จัดขาวก่อน และค่อยจัดเหลือง ตามลำดับ จากนั้นค่อยจัด center รอบๆ ให้ครบทั้งหมด
- จัด edge ทุกๆ ด้านให้ครบ ... สุดท้ายแล้ว ถ้าทำไม่ดี มันจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ มีสีอยู่ edge เดียวกันทั้งหมด แต่ตรงกลาง ดันกลับด้านกัน ไม่เข้าพวก ... และ ... สีที่ต้องการสลับอยู่ตรงข้ามกัน
- แบบที่ 1 ต้องการพลิกสี ใช้สูตร - Rr2 B2 U2 Ll U2 Rr' U2 Rr U2 F2 Rr F2 Ll' B2 Rr2
- แบบที่ 2 ต้องการสลับสี ใช้สูตร - Ll' U2 Ll' U2 F2 Ll' F2 Rr U2 Rr' U2 Ll2
- Solve โดยใช้ 3x3 solution ธรรมดา
:D
reference : ลูกบาศก์ศาสตราจารย์
No comments:
Post a Comment